วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

คู่มือเบื้องต้นในการดูสเปกแท็บเล็ตฉบับอัพเดทปี 2014

คู่มือเบื้องต้นในการดูสเปกแท็บเล็ตฉบับอัพเดทปี 2014

          ในปัจจุบันแท็บเล็ตก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งอุปกรณ์ไอทีที่ได้รับ ความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะด้วยความที่ว่าใช้งานได้ไม่แตกต่างจากสมาร์ทโฟนในเรื่องของแอพพลิเค ชั่นต่างๆ รวมไปถึงมีหน้าจอที่ขนาดใหญ่ทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานด้าน Productivity อย่างงานเอกสาร เช็คอีเมล์ การใช้งานด้าน Social Network ในการติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไป เเละด้านมัลติมีเดียอย่างการดูหนังฟังเพลง เล่นเกมภาพความละเอียดสูงได้บนแท็บเล็ตในเครื่องนี้เครื่องเดียว
          ถ้าเปรียบภาพรวมให้เข้าใจได้ง่ายๆ แท็บเล็ตจะมีลักษณะที่เหมือนกับสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ที่มีตัวประมวลผลเป็นส่วนกลางในการคำนวณคำสั่งต่างๆ ที่เราป้อนเข้าไปในแท็บเล็ต มีหน้าจอไว้เเสดงผลเเละปุ่มต่างๆ ไว้ควบคุมการทำงานของเครื่อง เเรมไว้เก็บข้อมูลที่เราเรียกใช้งานชั่วคราว? รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆ ที่ทำให้แท็บเล็ตใช้งานได้หลากหลาย อย่างกล้องถ่ายรูป เซนเซอร์ต่างๆ รวมไปถึงระบบ GPS นำทาง ส่งผลให้แท็บเล็ตกลายเป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์สามารถใช้งานได้หลายด้านตาม ความต้องการ?

ระบบปฏิบัติการ (OS)

          ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยแรกที่เราต้องรู้จักและทำความเข้าใจ โดยระบบปฎิบัติการ ก็คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการการทำงานของฮาร์ดแวร์ รวมไปถึงเป็นตัวกลางให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก โดยตัวอย่างระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ที่เราคุ้นเคย ก็จะเป็น Windows, Linux หรือ Mac OS X ที่แน่นอนแท็บเล็ตเองก็จำเป็นที่ต้องมีระบบปฏิบัติการไว้สำหรับใช้งาน ซึ่งระบบปฏิบัติการหลักๆ ในแท็บเล็ตมีดังต่อไปนี้
  • Android?ระบบปฏิบัติการจากทาง Google ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน โดยมีจุดเด่นในแง่ของการใช้งานที่ยืดหยุ่นหลากหลาย มีความเป็นอิสระ อีกทั้งแต่และค่ายผู้ผลิตแท็บเล็ตยังได้มีการนำระบบปฏิบัติการ Android ไปปรับแต่งเพื่อเติมให้มีความเหมาะการใช้งานมากยิ่งขึ้นแต่ละบุคคล อีกทั้งยังมีรุ่นให้เลือกจำนวนมากอีกด้วย ตั้งแต่ราคาไม่กี่พันจนไปถึงหลักสองหมื่นบาท ปัจจุบันจะเป็นเวอร์ชั่น 4.0 ขึ้นไปทั้งหมด
  • iOS?ระบบปฏิบัติการของ Apple ซึ่งแท็บเล็ตที่ใช้อยู่ก็คือ iPad ?และ iPad mini โดยเรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกับที่ใช้งาน iPhone ซึ่งจุดเด่นของ iOS แล้วละก็คงจะเป็นที่ประสิทธิภาพในการทำงานกับฮาร์ดแวร์ที่มีความสเถียรที่ สุด รวมไปถึงมีแอพพลิเคชั่นที่รองรับการใช้งานมากมาย ที่สำคัญยังจัดการหน่วยความจำได้ดีกว่าดีกว่าแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการอื่นๆ อีกด้วย สำหรับข้อสังเกตุก็คงเป็นการที่ไม่รองรับ Flash (ไม่สามารถแสดงผลได้) และการเชื่อมต่อหรือถ่ายโอนข้อมูลที่หลักๆ แล้วต้องทำผ่านโปรแกรม iTunes บนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ปัจจุบันเข้าสู่เวอร์ชั่น 7 อย่างเต็มตัว
  • สุดท้ายกับระบบปฏิบัติการ Windows ของทาง Microsoft ที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะเรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ในตอนนี้ได้มีพัฒนาจนเป็น Windows 8 แล้ว โดยมีการเพิ่มในส่วนของการใช้งานหน้าตาทัชกรีนที่ใช้งานได้เหมาะสมกว่าการ ใช้หน้า Desktop ซึ่งมีชื่อว่า Modern UI ที่มีจุดเด่นในแง่ของการติดตั้งโปรแกรมได้เหมือนกับในคอมพิวเตอร์ปกติเลย แต่ก็มีจุดด้อยตรงที่แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้งานแท็บเล็ตยังน้อยอยู่ แต่็คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นมาในอนาคต

ตัวประมวลผล (CPU)



          ถ้าพูดถึงส่วนที่สำคัญที่สุดของแท็บเล็ตในปัจจุบันอาจจะกล่าวได้ว่าคือ ตัวประมวลผล ซึ่งในปัจจุบันตัวประมวลผลนั้นประกอบไปด้วย CPU เเละ GPU ในตัวเดียวกัน ซึ่งตัวประมวลผลนี้ส่งผลโดยตรงต่อความเร็วเเละความลื่นไหลในการใช้งานโดยตรง ของเครื่อง ซึ่งปกติเเล้วเครื่องระดับไฮเอนด์จะใช้ตัวประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้ การใช้งานนั้นมีความเร็วสูงตามไปด้วย ในขณะที่เครื่องรุ่นล่างเเละกลางก็จะใช้ตัวประมวลผลที่มีประสิทธิภาพรองลงมา องค์ประกอบหลักๆ มีสามส่วนดังนี้ครับ
  • ความเร็วซีพียู ถูกวัดด้วยค่า MHz เเละ GHz จำนวน 1000 MHz จะถูกนับเป็น 1 GHz จำนวนยิ่งมากยิ่งประสิทธิภาพสูง
  • จำนวนคอร์ จำนวนคอร์ยิ่งมากยิ่งสามารถรองรับการทำงานได้ดีขึ้น เเบ่งเป็น Single Core, Dual Core เเละ Quad Core (1 คอร์ 2 คอร์ เเละ 4 คอร์) เห็นผลได้ชัดในการสลับเรียกโปรเเกรมหรือมีโปรเเกรมทำงานพื้นหลังอยู่
  • สถาปัตยกรรม เรียงจากจำนวนตัวเลข โดยเริ่มจาก ARM Cortex A5, A8, A9 เเละ A15 ในความเร็วเท่ากัน ถ้าสถาปัตยกรรมดีกว่าจะมีความเร็วที่สูงกว่า เช่น Cortex A9 ที่ความเร็ว 1 GHz ประสิทธิภาพจะสูงกว่า ARM Cortex A5 ความเร็ว 1 GHz เเต่ Qualcomm นั้นมีสถาปัตยกรรมที่เเยกต่างหากจาก ARM โดย Scorpion จะเทียบเท่า Cortex A8 ส่วน Krait จะอยู่เหนือกว่า Cortex A9 แต่ไม่ถึง Cortex A15 ครับ และปัจจุบัน ARM ก็ได้วาง Cortex-A17 Quad core สำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลางไปเรียบร้อย 
  • เทคโนโลยีการผลิต ในปัจจุบันเเบ่งเป็น 40 นาโนเมตร 32 นาโนเมตร เเละ 28 นาโนเมตร จำนวนยิ่งต่ำยิ่งประหยัดพลังงานเเละมีประสิทธิภาพดีกว่าในจำนวนความเร็วซีพี ยูที่เท่ากัน
  • GPU ส่วนใหญ่วัดจากชื่อรุ่น โดยดูจากผลเทสว่าทำคะเเนนได้ดีกว่ารุ่นอื่นๆ เเค่ไหน

          โดยในปี 2014นี้ เราจะได้เห็นชิปประมวลผลที่มีคอร์ในการประมวลผลสูงสุดถึง 8 คอร์ด้วยกัน (Octa Core) โดยตัวอย่างชิปประมวลผลที่เราจะได้เห็นบ่อยๆ จากแต่ละค่ายก็เช่น

Qualcomm

          สำหรับชิปล็อตเก่าจะมีด้วยกัน 4 ไลน์ย่อย ได้แก่ Play, Plus, Pro และ Prime (เรียงลำดับความแรงจากน้อยไปมาก) ซึ่งตัวอย่างของชิปที่ได้รับความนิยมของแต่ละไลน์ก็เช่น

  • Play : MSM8225 (Dual Core)
  • Plus : MSM8227 (Dual Core), MSM8260A (Dual Core), MSM8960 (Dual Core)
  • Pro : APQ8064 (Quad Core)
  • Prime : MPQ8064 (Quad Core)
          ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นชิปประมวลผลรุ่นใหม่ของ Qualcomm ที่เปิดตัวในปีนี้ โดยปรับการเรียกชื่อซีรี่ย์ให้เป็นตัวเลข 3 หลัก นั่นคือ Snapdragon 800, Snapdragon 600, Snapdragon 400 และ Snapdragon 200 (เรียงตามลำดับความแรง) โดยในปัจจุบันมี Snapdragon 805 ทำงานในแบบ Quad core เป็นตัวชูโรง ซึ่งมาพร้อม GPU Adrano 420 ที่เป็นกราฟฟิกทรงประสิทธิภาพ
NVIDIA Tegra 4
          ด้านของ NVIDIA เอง ปีนี้ก็ได้ทำการเปิดตัวชิปประมวลผลรุ่นใหม่ของตนออกมา นั่นก็คือ Tegra 4 ซึ่งยังคงคอนเซ็ปท์การแบ่งคอร์ประมวลผลเป็นสองชุดอยู่เช่นเดียวกับ Tegra 3 คือมี 1 คอร์สำหรับประมวลผลงานเบาๆ ทั่วไป และระหว่างสแตนด์บาย ส่วนอีก 4 คอร์ที่เหลือจะเก็บไว้ใช้สำหรับการประมวลผลหนักๆ ซึ่งช่วยให้ในระหว่างการทำงานทั่วไป ระบบจะไม่กินพลังงานมากนัก ส่วนด้านการประมวลผลกราฟิก ก็มีการเพิ่มคอร์ของ GPU ทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลกราฟิกสูงขึ้นกว่า Tegra 3 ถึงหกเท่า
โดยอุปกรณ์ที่ใช้งานชิป Tegra 4 น่าจะเริ่มออกมาตั้งแต่ช่วงปลายปีเป็นต้นไป คาดว่าในช่วงแรกน่าจะเน้นไปที่กลุ่มแท็บเล็ต Android ก่อนเช่นเคย
Samsung Exynos
          ส่วนของ Samsung เองก็ได้จัดการเปิดตัวชิปประมวลผล Exynos รุ่นใหม่ของตนด้วยเช่นกัน ในชื่อ Exynos Octa ที่น่าสนใจก็คือมีคอร์ประมวลผลสูงสุดถึง 8 คอร์ แต่จะแบ่งคอร์ออกเป็นสองชุด คือชุดที่ใช้สถาปัตยกรรม Cortex A7 จำนวน 4 คอร์ ไว้สำหรับประมวลผลงานเบาๆ ธรรมดาทั่วไป ส่วนอีก 4 คอร์เป็นสถาปัตยกรรม Cortex A15 โดยเอาไว้ใช้ประมวลผลงานหนักๆ ซึ่งตัวของ Exynos Octa นี้น่าจะลงมาอยู่ในสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตรุ่นไฮเอนด์ของ Samsung ในปีนี้อย่างแน่นอน
ชิปประมวลผลจากผู้ผลิตรายอื่นๆ
          ในปีนี้เราน่าจะได้เห็นชิปประมวลผลจากผู้ผลิตรายอื่นๆ มาอยู่ในสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องราคาประหยัด หรือที่เรียกง่ายๆ ว่ามือถือจีน แท็บเล็ตจีน รวมไปถึงแท็บเล็ตราคาประหยัดจากอินเตอร์แบรนด์หลายๆ รายที่หันลงมาเล่นตลาดนี้ด้วย ซึ่งเครื่องกลุ่มนี้มักจะใช้ชิปประมวลผลจาก MediaTek เป็นหลัก ซึ่งประสิทธิภาพก็อยู่ในระดับที่สามารถใช้งานทั่วไปได้สบายๆ แต่อาจจะมีกระตุกบ้างถ้ามีการใช้งานหนักๆ ซึ่งก็เป็นไปตามราคาเครื่องครับ
Intel?
          นอกเหนือจากนี้ยังมีในส่วนของแท็บเล็ตที่ใช้ชิปประมวลผลของทาง Intel โดยสถาปัตยกรรมเป็น X86 ที่ส่วนมากแล้วแท็บเล็ตประเภทนี้จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งในส่วนของ Intel จะมีการเลือกใช้งานในแท็บเล็ตตั้งแต่ชิปประมวลผล Intel Atom ที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และ Intel Core i จะเหมาะกับการใช้งานที่เน้นการประมวลผลหรือใช้งานหนัก
AMD
          แน่นอนว่าเป็นสถาปัตยกรรมเป็น X86 และหลักๆ แล้วจะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows?คาดว่าจะมีการใช้งานในแท็บเล็ตและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปีนี้ ที่สำคัญคือจะมาเป็นเทคโนโลยี APU ซึ่งมีหน่วยประผลกราฟิกที่เหนือกว่าฝั่งของ Intel?

เเรม (RAM)

samsung-20nm-lpddr2
          เเรมหรือหน่วยความจำนั้นเป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวที่เรากำลังเรียกใช้ งานอยู่ ซึ่งปกติเเล้วเเรมจะมีความเร็วสูงกว่าข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในพื้นที่เก็บ ข้อมูลปกติ (รอม) ทำให้สามารถใช้งานเเบบมัลติทาสก์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เเล้วเเอพลิเคชันบางตัวมีการใช้งานหน่วยความจำที่สูง จึงไม่มีเเรมเพียงพอที่จะรันเซอร์วิสในเเบคกราวด์อื่นๆ ทำให้เกิดอาการเเอพลิเคชันไม่รันในเเบคกราวด์เพราะโปรเเกรมที่อยู่ในพื้น หลังจะปิดตัวเองอัตโนมัติถ้าเเรมไม่พอ ทำให้ไม่สามารถใช้งานมัลติทาสก์ได้อย่างเต็มที่ถ้าเเรมมีน้อยเกินไป เพราะเมื่อสลับเเอพนั้นจะเหมือนเราเปิดเเอพขึ้นมาใหม่เสมอ ไม่ใช่สภาพล่าสุดที่เราใช้งานเเรมมาตรฐานถ้าต้องการใช้งานได้ดีขั้นต่ำควร อยู่ที่ 512 MB ขึ้นไปครับ โดยในปัจจุบันแรมของสมาร์ทโฟนจะมีแบ่งตามระดับราคาคร่าวๆ ดังนี้

  • ช่วงราคาไม่เกิน 10,000 บาท โดยมากจะมีแรมอยู่ที่ 512 MB – 1024 MB
  • ช่วงราคา 10,001 บาท ? 15,000 บาท โดยมากจะมีแรมอยู่ที่ 1024MB – 2 GB
  • ช่วงราคา 15,001 บาทเป็นต้นไปจะมีทั้ง 1 GB และ 2 GB (รุ่นท็อปของปีนี้น่าจะเป็น 3 GB กันหมด)

รอม (ROM)

          รอมหรือพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นในปัจจุบันได้พัฒนาความจุไปมาก โดยส่วนใหญ่เเล้วในรุ่นระดับกลางก็จะเห็นตั้งเเต่ 8 GB ขึ้นไป ซึ่งจะเเบ่งออกเป็นสองส่วนคือ System Partition ที่เป็นส่วนของระบบในการติดตั้งตัวรอมเเละพื้นที่ติดตั้งเเอพลิเคชันใน เครื่อง ส่วนที่เหลือก็เป็นที่เก็บข้อมูลเเบบปกติเหมือนกับ micro-SD card ทั่วไป เช่น เอาไว้เก็บรูปหรือเพลงได้

ขนาดเเละความละเอียดของหน้าจอ (Size & Resolution)


?

          ในปัจจุบันหน้าจอของแท็บเล็ตหลักๆ แล้วจะมีตั้งเเต่ขนาด 7 นิ้วไปจนถึง 11 นิ้ว ซึ่งมีให้เลือกตามความเหมาะสม สำหรับคนที่ต้องการพกพาที่สะดวกสบายที่สุดคงต้องมองเป็นขนาดหน้าจอ 7 – 8 นิ้ว ที่นอกจากนี้เเล้วส่วนมากหน้าจอที่มีขนาดเล็กมักจะมีราคาต่ำกว่าหน้าจอขนาด ใหญ่อีกด้วย โดยความละเอียดสูงสุดจะอยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซลขึ้นไป
          สำหรับคนที่ต้องใช้งานแท็บเล็ตอ่านข่าวสารและเล่นเกมเป็นหลักนั้น ควรเลือกหน้าจอที่มีขนาด 9 นิ้วขึ้นไป เพราะตัวอักษรจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเเละอ่านได้สบายตากว่าในระยะเวลานาน ส่วนความละเอียดหน้าจอนั้นควรจะอยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซลขึ้นไป โดยแท็บเล็ตรุ่นระดับสูงๆ จะมาพร้อมกับความละเอียดที่สูงมากๆ อย่าง 1920 x 1080 ขึ้นไป เพื่อความเรียบเนียบในการแสดงผล ส่งผลให้ได้ประสบการณ์ใช้งานที่ดี

เทคโนโลยีหน้าจอ (Panel)



          ปัจจุบันนี้หน้าจอเเยกออกเป็นสองเเบบใหญ่ๆ คือ LCD เเละ AMOLED โดย LCD นั้นจะเป็นเทคโนโลยีเเบบดังเดิมคือมีเเสงไฟปล่อยจากข้างหลังจอเเละมีการเปิด ปิดของพิกเซลในการเเสดงสี ส่วน AMOLED นั้นพิกเซลจะเปล่งเเสงได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยไฟ Backlit เหมือน LCD
โดยธรรมชาตินั้นข้อดีของ LCD คือสามารถเเสดงสีได้เป็นธรรมชาติเเละมีอายุการใช้งานยาวนาน อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานเเล้ว ข้อจำกัดคือไม่สามารถเเสดงสีดำได้สนิทนักโดยจะเห็นว่ามีเเสงสีขาวเเสดงขึ้น มาบ้าง
          ส่วน AMOLED นั้นมีข้อดีคือสามารถเเสดงสีดำได้สนิทเนื่องจากเป็นการ ?ปิด? การเเสดงสีของพิกเซลที่เเท้จริง เเละไม่มีเเสงไฟปล่อยจากด้านหลังเหมือนหน้าจอ LCD เเต่ส่วนใหญ่เเล้วจอ AMOLED นั้นจะมีการเเสดงคอนทราสที่สูง ทำให้สีนั้นมีความสดกว่าต้นฉบับ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการใฃ้งานสำหรับคนที่ต้องการความเที่ยงตรงของสีได้
จอ LCD ในปัจจุบันเเบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
  • TN Panel (Twisted nematic) เป็นหน้าจอเเบบปกติที่ใช้กันทั่วไป ส่วนใหญ่ใช้ในเครื่องระดับล่าง ? กลาง
  • IPS Panel (In-Plane-Switching) เป็นพาเนลที่ถูกพัฒนาในเรื่องของมุมการมองที่กว้างขึ้นกว่า TN เเละสร้างเม็ดสีที่ออกมาคมชัดเเละเที่ยงตรงกว่าเเบบ TN ที่ส่วนใหญ่ถูกใช้ในเครื่องระดับกลางไปทางสูงเเละเครื่องระดับสูง
          ส่วนจอ OLED นั้นปัจจุบันที่ถูกใช้กันอย่างเเพร่หลายมีเฉพาะของ Samsung เท่านั้นโดยในชื่อเครื่องหมายการค้าชอง Samsung ที่ชื่อ ?Super AMOLED? ซึ่งข้อดีชองจอชนิดนี้ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้นคือ นอกจากนี้เเล้วยังมีการประหยัดพลังงานที่ยืดหยุ่นตามการใช้งาน คือจะใช้พลังงานเมื่อเฉพาะมีการเปล่งเเสงสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำออกมา เเต่ถ้ามีการเปล่งเเสงอื่นๆ (ขาว เเดง เขียว น่้ำเงิน เเละอื่นๆ) ออกมามากที่ไม่ใช่สีดำก็มีอัตราการกินพลังงานไม่ต่างกับหน้าจอชนิดอื่นเช่น กัน
จอ Super AMOLED ในปัจจุบันเเบ่งออกมาสองประเภทหลักๆ คือ
  • การเรียงพิกเซลเเบบ Pentile การเรียงพิกเซลโดยใช้จำนวน Subpixel ที่ไม่ใช่ตามปกติ (RGB) โดยมีการเพิ่ม Subpixel เข้าไปทำให้พิกเซลนั้นไม่ได้เรียงตัวเเบบปกติเเละมีรอยหยักที่เห็นได้ชัดเจน เเละไม่คมชัดเท่าเเบบ RGB เเบบปกติ จอที่มีการเรียงเเบบ Subpixel จะมีสีที่เพี้ยนตามจำนวน Subpixel ที่เพิ่มเข้ามา เช่นถ้าเป็น RGBG ภาพก็จะออกมาเป็นโทนเขียวมากกว่าปกติ เเม้จะเเสดงสีขาวก็จะเป็นเเบบสีขาวอมเขียว ซึ่งทาง Samsung ได้บอกว่าการเรียงพิกเซลเเบบนี้จะทำให้จอ Super AMOLED มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นเพราะจะมีพิกเซลสีน้ำเงินน้อยกว่าปกติซึ่งเป็น เม็ดพิกเซลที่เสื่อมสภาพก่อนเม็ดอื่นๆ
  • การเรียงพิกเซลเเบบ RGB เป็นการใช้การเรียงพิกเซลเเบบมาตรฐานเหมือนกับจอ LCD ทำให้ไม่ภาพที่ได้ออกมาไม่มีรอยหยักเเละมีความคมของภาพมากกว่า

กล้องดิจิตอล (Camera)



          เทคโนโลยีกล้องดิจิตอลสำหรับอุปกรณ์พกพาในตอนนี้ส่วนใหญ่เเล้วจะเเข่งกัน ที่ความละเอียดพิกเซลเสียส่วนใหญ่ เเต่ก็มีการพัฒนาในเรื่องของค่ารูรับเเสงที่ดียิ่งขึ้นทำให้ถ่ายรูปในที่ เเสงน้อยได้ดีกว่าเดิม โดยดูจากค่า F ที่มีจำนวนยิ่งน้อยถือว่ายิ่งรับแสงสว่างได้ดี เช่น F2.2 นั้นดีกว่ากล้องที่มีค่า F ที่ 2.4 ซึ่งนอกเหนือจากค่า F ที่มีเลขน้อยจะช่วยให้รับแสงสว่างได้ดีขึ้นแล้ว ยังจะช่วยให้สามารถถ่ายภาพแบบ ?หน้าชัดหลังเบลอ? ได้ดีขึ้นอีกด้วย เเละส่วนใหญ่ก็มี LED Flash มาให้สำหรับเพิ่มเเสงสว่างเวลาถ่ายในที่มืดเหมือนกันหมด
          ที่ปกติแล้วแท็บเล็ตหลายๆ รุ่นก็จะมีการติดตั้งกล้องมาไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งด้านหน้าจะไว้ใช้งาน VDO Call หรือถ่ายรูปตัวเองเป็นหลัก คุณภาพของกล้องก็จะไม่สูงมากนัก สเปกเริ่มต้นอยูที่สามแสนพิกเซล จนไปถึงระดับ 1 – 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องด้านหลังจะมีคุณภาพที่สูงกว่าเพราะไว้ใช้งานถ่ายรูปแบบหลัก ซึ่งมีความละเอียดส่วนมากเริ่มต้นตั้งแต่ 2 พิกเซลขึ้นไป
          อย่างไรก็ตามกล้องที่มีคุณภาพดีนั้น ปัจจัยหลักที่สำคัญคือเรื่องของเซนเซอร์ที่ยังไม่มีการพูดถึงกันมากนัก สำหรับผู้ผลิต ทำให้ส่วนใหญ่ต้องดูจากภาพถ่ายของเครื่องจริง หรือข้อมูลเฉพาะรุ่นเป็นส่วนใหญ่ว่าเน้นเรื่องกล้องมากเเค่ไหน ส่วนใหญ่เเล้วแท็บเล็ตที่ใช้กล้องคุณภาพสูงอาจจะยังไม่มีมากมายนักหากเทียบ กับสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังมีอีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของภาพถ่ายก็คือเรื่องของ ซอฟต์แวร์และกระบวนการประมวลผลภาพในตัวเครื่อง
          ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตอีกเช่นกัน ว่าจะทำส่วนนี้ออกมาได้ดีขนาดไหน ไล่มาตั้งแต่ก่อนถ่ายภาพเลย ว่าจะคำนวณค่าความสว่าง, White Balance, ISO ได้ดีขนาดไหน รวมไปถึงกระบวนการประมวลผลหลังถ่ายภาพแล้วอีก ทำให้ไม่สามารถฟันธงได้ 100% ว่ากล้องตัวไหนจะดีจะแย่ขนาดไหน ต้องชมจากภาพตัวอย่างที่เอามาเปิดบนจอเดียวกัน ไม่ใช่เปิดบนจอแท็บเล็ตเครื่องใครเครื่องมัน
ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

เปิดตัว Razer Blade แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมที่บางเฉียบที่สุดในโลก

เปิดตัว  แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมที่บางเฉียบที่สุดในโลก

          แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมที่บางเฉียบที่สุดในโลก โดดเด่นด้วย จอแสดงผลแล็ปท็อปที่มีความละเอียดสูงที่สุดในโลกขนาด 14 นิ้ว Razer Blade เป็นแล็ปท็อปที่มอบขุมพลังต่อลูกบาศก์นิ้วสูงที่สุดในโลก ผ่านการอัพเดตด้วย NVIDIA GTX 870M รุ่นใหม่

          RazerTM ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ความบันเทิงประกาศเปิดตัว Razer Blade รุ่นล่าสุดที่มีจอแสดงผลความละเอียดสูงสุดขนาด 14 นิ้วพร้อมใช้งานบนแล็ปท็อปจอแสดงผล แบบทัชสกรีน 3200x1800 ที่น่าทึ่งนี้โดดเด่นด้วยด้วยรายละเอียด 5.76 ล้านพิกเซล ที่ยอดเยี่ยมคมชัดเป็นประวัติการณ์และพิมพ์ข้อความได้ 262 พิกเซลต่อนิ้ว
          เทคโนโลยีแผงจอแสดงผล IGZO/IPS (Indium Gallium Zinc Oxide/In-Plane Switching) ที่ทันสมัยของ Razer ให้คุณภาพของสีสันและภาพที่เหนือชั้น ผลลัพธ์ที่ได้คืออัตราส่วน
          ของความต่างเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้านี้ถึง 250 เปอร์เซ็นต์ด้วยจอ LED ที่ให้ความสว่างสูง สามารถปรับแสงขณะใช้งานนอกสถานที่ปรับมุมรับชมได้กว้าง รวมถึงปรับการตอบสนองและ การแพร่ภาพวิดีโอให้มีชีวิตชีวาขึ้น จอแสดงผล Razer Blade ลดการเปลี่ยนสีขณะเดียวกันก็เพิ่มสีสันในระดับสูงสุดเพื่อทำให้เกมดูสวยงามกว่าที่เคยมีมา
          Razer Blade ที่ผสมผสานความคมชัดแบบสุดขั้วพร้อมฟังก์ชันการทำงานขั้นเทพนี้ยังมี หน้าจอมัลติทัชแบบเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า 10 จุด สามารถทำงานได้ไม่มีสะดุดพร้อม อินเทอร์เฟซสัมผัสแบบใหม่ใน Windows 8 คุณ Min-Liang Tan ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งร่วมของบริษัท Razer กล่าวว่า Razer Blade จะเซตเบนช์มาร์กที่แล็ปท็อปทุกเครื่องต้องใช้วัดประสิทธิภาพ ตอนนี้ Razer Blade แล็ปท็อปเล่นเกมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและบางเฉียบที่สุดในโลกมา พร้อมกับจอแสดงผลโน้ตบุ๊กขนาด 14 นิ้วที่ดีที่สุดในโลกครับ
          นอกจากจะวัดความบางได้แค่ 0.7 นิ้วแล้ว Razer Blade ยังอัดแน่นด้วยขุมพลังต่อลูกบาศก์นิ้ว เหนือกว่าแล็ปท็อปรุ่นอื่นที่มีอยู่ในโลก Razer Blade แสดงเฟรมเรตมากถึง 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าดีกว่าระบบคำนวณซ้ำก่อนหน้านี้ด้วย NVIDIA® GeForce® GTX 870M GPUรุ่นล่าสุด Razer Blade ทำงานด้วยโปรเซสเซอร์ 4th gen Intel® CoreTM i7 และใช้เทคโนโลยีจัดเก็บ ข้อมูลแบบโซลิดสเตตเพื่อเพิ่มความเร็วที่มากถึงสี่เท่า เร็วกว่าฮาร์ดไดร์ฟโน้ตบุ๊กรุ่นเก่า Razer Blade ที่สร้างไว้ในโครงอลูมิเนียมล้วนแสนทนทานนี้ โดดเด่นด้วย แทร็กแพดที่ออกแบบมา ให้ผู้ใช้ปรับแต่งเองและ คีย์บอร์ดระดับเล่นเกมแบบแบ็คไลท์ที่สามารถกดปุ่มพร้อมกัน ได้อย่างสมบูรณ์แบบรวมถึงปุ่มที่สามารถตั้งโปรแกรมได้โดยได้รับการสนับสนุนจากซอฟต์แวร์ นวัตกรรมใหม่อย่าง Synapse 2.0
-เพิ่มเติม-
          คุณ Brian Choi ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ NVIDIA Sr. กล่าวว่า แล็ปท็อป Razer Blade โดดเด่นด้วยดีไซน์ระดับพรีเมียมและประสิทธิภาพที่สุดยอด เราดีใจที่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและสวยงามดังกล่าวด้วยโปรเซสเซอร์กราฟิกตัวล่าสุดของเราได้ ด้วยแรงม้าของกราฟิกส์เกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับรุ่นของปีที่แล้ว Razer Blade จึงเป็นหนึ่ง ในแล็ปท็อปเล่นเกมแบบพกพาที่น่าทึ่งที่สุดในโลกอย่างเห็นได้ชัดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว
          สุดยอดแล็ปท็อปแบบพกพาประกอบไปด้วยหน่วยความจำ 1600 MHz DDR3L ที่รวดเร็ว 8GB และที่เก็บข้อมูลโซลิดสเตตแบบมาตรฐาน 128 GB รวมถึงทางเลือกสำหรับจัดเก็บข้อมูล 256 GB หรือ 512 GB นอกจากนี้ Razer Blade ยังมาพร้อมกับ Dolby® Home Theatre® v4 ที่โดดเด่นด้วยการตอบสนองคุณภาพเสียงอันลุ่มลึก ผ่านการปรับแต่งมาเพื่อมอบประสบการณ์ เสียงแบบโรงภาพยนตร์ Razer Blade มีอายุการใช้งานแบตเตอรี่นานถึงหกชั่วโมงและระบบ เชื่อมต่อไร้สาย 802.11ac ที่มีประสิทธิภาพสูงรุ่นล่าสุด
          Razer Blade ขนาด 14 นิ้วได้รวมไดร์ฟที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องของ Razer เข้าไปด้วย ทั้งนี้เพื่อออกแบบแล็ปท็อปเล่นเกมให้ดีที่สุดในโลกสำหรับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานแบบสุดขั้ว รูปลักษณ์ที่บางเฉียบและหน้าจอความละเอียดสูงสุดสำหรับเล่นเกมทุกที่ทุกเวลา Razer เริ่มทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงแต่อย่างใด และด้วยแล็ปท็อป Razer Blade ขนาด 14 นิ้วนี้ ผู้ใช้จะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าที่เคยบนระบบที่ออกแบบ
มาให้พกพาได้เป็นเลิศ
Razer Blade พร้อมให้สั่งจองล่วงหน้าแล้ว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไปที่ www.razerzone.com/blade
ราคา: เริ่มต้นที่ $2,199
กำหนดวางจำหน่าย: Razerzone.com - สั่งจองล่วงหน้าตอนนี้ จัดส่งสินค้าต้นเดือนเมษายน
ลักษณะเด่นของสินค้า:
• 14.0 นิ้ว QHD+ อัตราส่วน 16:9, 3200x1800
• แผงจอแสดงผล IGZO/IPS (Indium Gallium Zinc Oxide/In-Plane Switching)
• หน้าจอมัลติทัชแบบเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า 10 จุดแบบ LED
• NVIDIA® GeForce® GTX 870M (3 GB GDDR5) และ Intel HD4600 Integrated Graphics
• 4th Gen Intel® CoreTM i7-4702HQ Quad Core processor
• หน่วยความจำออนบอร์ด 8 GB (DDR3L - 1600 MHz)
• Windows® 8.1 64-Bit
• 128 GB SSD พร้อมทางเลือกแบบ 256/512 GB SSD (SATA M.2)
-เพิ่มเติม-

• Intel® Wireless-AC 7260HMW (802.11a/b/g/n/ac + Bluetooth® 4.0)
• (3x) พอร์ต USB 3.0 (SuperSpeed)
• เอาท์พุทวิดีโอและเสียง HDMI 1.4a
• Dolby® Digital Plus Home Theatre Edition
• ลำโพงสเตอริโอในตัว
• แจ็คคอมโบหูฟัง/ไมโครโฟน 3.5 มม.
• อาร์เรย์ไมโครโฟน
• สนับสนุน 7.1 Codec (ผ่าน HDMI)
• เว็บแคมแบบ full-HD ในตัว (2.0 ล้านพิกเซล)
• อะแดปเตอร์จ่ายไฟ 150 W ขนาดเล็ก
• แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนโพลิเมอร์แบบชาร์จใหม่ได้ 70 Wh ในตัว
• คีย์บอร์ดที่สามารถกดปุ่มพร้อมกันได้หลายปุ่มของ Razer (สามารถปรับแสงได้)
• สนับสนุน Razer Synapse 2.0
• อินเทอร์เฟซล็อกกันขโมย
• 13.6 นิ้ว (345 มม.) ความกว้าง x 0.70 นิ้ว (17.8 มม.) ความสูง x 9.3 นิ้ว (235 มม.) ความลึก
• 4.4 ปอนด์ / 2.03 กก.



  • Ads by Google
  • อยากได้ รถมือสอง สภาพดี?
  • รถบ้าน รถเต้นท์ สภาพดี ราคาถูก หารถมือสองทุกยี่ห้อที่ OLX Thailand
  • www.olx.co.th/รถมือสอง
  • Hitech Gallery

    วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

    รีวิว Nokia X: ความพยายามครั้งแรกของ Nokia ในโลกแอนดรอยด์

    : ความพยายามครั้งแรกของ Nokia ในโลกแอนดรอยด์

              ความเคลื่อนไหวของโนเกียที่เปิดตัวโทรศัพท์มือถือสายใหม่ที่ มีชื่อว่า Nokia X ในงาน Mobile World Congressเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้สร้างความฮือฮามากพอสมควร นั่นก็เพราะระบบปฏิบัติการที่ใช้ภายในนั้นมีฐานมาจากโครงการAOSP (Android Open Source Project) ซึ่งหากอธิบายง่ายๆ ก็คือ นำเอาแอนดรอยด์มาปรับแต่งเอง (แนวทางเดียวกับ Amazon) โดยอาศัยความได้เปรียบของระบบโดยรวมของแอนดรอยด์ที่มีแอพจำนวนมาก ผสานเข้ากับบริการต่างๆ ยกเว้นบริการของกูเกิลลงไป
              Blognone เองเคยมีพรีวิวลอง จับเครื่องที่จะจำหน่ายจริงในประเทศไทยมาแล้ว แต่ในคราวนี้จะเป็นการรีวิวเจาะลึกการใช้งานอย่างเต็มที่จากการใช้งานจริง ซึ่งน่าจะตอบคำถามของคนที่กำลังจดๆ จ้องๆ ว่าจะซื้อดีหรือไม่ หรือรอรุ่นที่ดีกว่า (X+/XL) ในสายเดียวกันดี

    แกะกล่องและรูปลักษณ์ภายนอก

              กล่องของ Nokia X นั้นมีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เรียกว่าขนาดไม่ถึงกับเล็กมากแต่มั่นคงดี เมื่อเลื่อนส่วนด้านนอกของกล่องออกมา ก็พบกับเครื่องวางเด่นอยู่ในกล่องดังภาพ
    IMG_20140310_220233
    ภายในนอกจากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่แล้ว มีสายชารจ์และหูฟังสีแดงให้ พร้อมกับคู่มือเริ่มต้นใช้งาน
    IMG_20140310_220358
              วิธีการเปิดฝาหลังเครื่องคือต้องดันส่วนฝาเขียวๆ ให้แยกออกจากตัวเครื่อง (แนวทางเดียวกับ Lumia 620) แม้จะไม่ยาก แต่ตอนแรกที่ทำตามคู่มือนั้นกลับเปิดได้ยากมากกว่าที่คิด จึงอาจคิดได้ในสองแง่ หนึ่งคือไม่ควรทำตามคู่มือไปเสียทุกอย่าง ไม่ก็สองคือวิธีเปิดตามคู่มือไม่ใช่วิธีเปิดที่ดีหรือง่ายที่สุด ในแง่นี้อยากให้โนเกียลองพยายามหาวิธีอธิบายที่ง่ายกว่านี้ในคู่มือ (ใช้คนถึงสามคนในการพยายามดันฝาหลังออกตามวิธี ก่อนจะพบวิธีที่ง่ายกว่า)
    IMG_20140310_215816
    Nokia X เป็นมือถือแบบสองซิมที่ใช้ Micro SIM ทั้งคู่ (แบบเดียวกับ Moto G) และสามารถเสียบหน่วยความจำแบบ Micro SD เพิ่มเติมได้ เพียงแต่ช่อง SIM 1 เท่านั้นที่จะรองรับ 3G
    IMG_20140310_220001
    รูปลักษณ์ภายนอกนั้นเหมือนกับที่ได้บรรยายไปแล้วในพรีวิว นั่นก็คือค่อนข้างมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมแบบก้อนอิฐ เรียกว่า ถ้าใครที่ชื่นชอบแนวทางการออกแบบเช่นนี้ก็อาจจะชอบ Nokia X น้ำหนักไม่มากก็จริงแต่ถือว่าพอตัวอยู่ทีเดียว ให้สัมผัสที่แน่นหนาและมั่นคงมากกว่าโทรศัพท์รายอื่น หน้าจอค่อนข้างคมชัดระดับหนึ่ง
    IMG_20140310_215009
    ด้วยรูปทรงที่แทบจะเป็นก้อนอิฐ ทำให้ลูกเล่นอันหนึ่งได้มาอย่างบังเอิญ คือ จับตั้งขึ้นมาได้ สวยงามไปอีกแบบ (ถ้าไม่กลัวว่ามือจะไปปัดตกนะครับ)
    IMG_20140310_215252
    ด้านขวามือของเรา มีปุ่มปรับเสียงและเปิด/ปิดหน้าจอ ด้านหลังเครื่องเรียบๆ ครับ มีลำโพงและกล้อง ลำโพงเมื่อเล่นเพลงและวางถูกลักษณะให้เสียงที่ค่อนข้างดังพอสมควรระดับหนึ่ง ครับ
    IMG_20140310_171448
    ด้านบนเป็นช่องเสียบหูฟัง และด้านล่างของเครื่องเป็นช่องเสียบสาย Micro USB ครับ
    IMG_20140310_214754
    IMG_20140310_214741
    เปรียบเทียบขนาดระหว่าง (จากซ้ายไปขวา) Moto G, Nokia X, Lumia 520 และ Lumia 920 จะเห็นได้ว่า Nokia X มีขนาดที่ค่อนข้างเล็กพอสมควร
    IMG_20140310_164716

    ซอฟต์แวร์

              แม้ภายในจะเป็นระบบปฏิบัติการที่ดัดแปลงมาจากแอนดรอยด์ก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ หน้าตาภายในนั้นกลับถูกปรับแต่งอย่างมาก อาจจะเรียกว่ายกหน้าตาของ Windows Phone ลงมาใส่ไว้ภายในแทบทั้งหมด ในเครื่องจะมีแอพบางตัวที่แถมมาให้ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเกมครับ
     Screenshot_2014-03-10-16-05-50
    Screenshot_2014-03-10-16-06-44 
    การใช้งาน Fastlane ก็เพียงแค่ปัดจากหน้าหลักไปเท่านั้น ไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือขวา ข้อสำคัญคือต้องอยู่ที่หน้าหลักเท่านั้น Fastlane เป็นเหมือนแหล่งรวมกิจกรรมหรือแอพที่เรากำลังเปิดอยู่ทั้งหมด แบบเดียวกับ Recent Apps ในแอนดรอยด์ เพียงแต่ว่าเพิ่มความสามารถแบบ Notification Bar เข้ามา คือระบุสถานะอย่างอื่นได้ เช่น กำลังดาวน์โหลดอะไรอยู่บ้าง เป็นต้น
    Screenshot_2014-03-10-15-58-52 
              แต่ที่น่าสนใจคือ ก็ยังคงมี Notification Bar ปรากฏอยู่เช่นกัน ไว้สำหรับเรียกใช้การตั้งค่าต่างๆ เช่น เปิดหรือปิดไวไฟ เป็นต้น ส่วนถ้ามีเมนูอยู่ ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะมีปัญหาโลกแตกแบบ HTCที่จะต้องกินที่แสดงผลไป เพียงแค่ปัดด้านล่างของจอเท่านั้นก็จะได้
    Screenshot_2014-03-10-19-39-00 
              แอพที่ติดตั้งมากับเครื่องแล้ว มักจะเป็นแอพพื้นฐานเบื้องต้นโดยส่วนมาก สิ่งที่น่าแปลกใจและค้นพบระหว่างการทดสอบคือ เครื่องไม่ได้แถมโปรแกรมที่เป็นบริการของไมโครซอฟท์มาทั้งหมด เช่น OneDrive ต้องไปดาวน์โหลดเองจากใน Store เป็นต้น ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ทำไมถึงไม่รวมเอาบริการพื้นฐานของไมโครซอฟท์ทั้งหมดมาในคราวเดียว? เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือเครื่องแถมมาพร้อมกับ Skype เท่านั้น
              ส่วนการลงแอพของแอนดรอยด์ในเครื่องนั้น สามารถทำได้ทันทีและไม่มีอะไรที่ต้องกังวลแม้แต่น้อย ขอให้แค่หาไฟล์ apk ของแอพที่ต้องการเท่านั้นก็สามารถลงได้แล้ว โดยตัวทางลัด (shortcut) ในการเข้าโปรแกรมจะไปอยู่ที่หน้าหลัก (แบบเดียวกับ Windows Phone) โดยในการทดสอบนี้เราลงแอพสองตัว คือ CPU-Z และ GPS Toolbox โดยใช้ apk ในการลง ซึ่งไม่มีปัญหาในการทำงานใดๆ ทั้งสิ้น บน Nokia X ดังนั้นจึงสบายใจได้ระดับหนึ่ง หากแอพที่ใช้ประจำนั้นไม่มีการเรียกใช้งาน API ที่สำคัญ (เช่น ระบบแผนที่หรือการจ่ายเงิน) ก็สามารถที่จะใช้งานได้ตามปกติ เพียงแต่อาจจะต้องเสียเวลาหา apk เท่านั้น หรือไม่ก็ติด Store ตัวอื่นที่นอกจาก Nokia Store อย่างเช่นของ Amazon เป็นต้น
    Screenshot_2014-03-10-16-22-05 
    Screenshot_2014-03-10-20-22-27 

    การใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน

    IMG_20140310_215139213
              เมื่อพอต้องใช้เครื่องจริงในชีวิตประจำวัน ในเรื่องของการจัดการแบตเตอรี่ถือว่าทำได้ดีพอสมควร อยู่ได้ค่อนข้างนานพอสมควร เสียงโทรเข้า-โทรออก ค่อนข้างชัดเจน และตัวแอพพื้นฐานที่มากับเครื่องก็ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันได้ดี แต่สิ่งที่พบก็คือการตอบสนองของเครื่องนั้นหากใช้ไประยะหนึ่งแล้วจะช้าลง อย่างมาก ต้องค่อยไล่ปิดแอพหรือการใช้งานปกติใน Fastlane ถึงจะเร็วขึ้น ปัญหามากกว่านั้นอยู่ที่เรื่องของพื้นที่หน่วยความจำที่มีมาให้ค่อนข้างน้อย ทำให้เลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ใช้จะต้องจัดหา Micro SD เข้ามาใช้ควบคู่ด้วย
    Screenshot_2014-03-10-17-18-57 
              ปัญหาที่ชวนหงุดหงิดใจเล็กน้อยอยู่ที่แป้นพิมพ์กับการเปลี่ยนภาษา ซึ่งถึงแม้ว่าแป้นพิมพ์ที่ติดมากับเครื่องจะดีมาก (เข้าใจว่าใช้ Swype) แต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนภาษาแล้ว กลับต้องกดปุ่ม Spacebar ค้างไว้ระยะหนึ่งก่อนจะปรากฎให้เลือกภาษา ซึ่งในจุดนี้ทางโนเกียอาจจะต้องกลับไปคิดพอสมควรว่าทำอย่างไรให้การเปลี่ยน ภาษาง่ายกว่านี้ได้ อีกส่วนคือการเคาะหน้าจอสองครั้งเพื่อเปิดหน้าจอ ที่ถึงแม้จะมีประโยชน์อย่างมาก แต่เอาเข้าจริงเวลาใช้งานแล้วมีหลายครั้งที่เคาะแล้ว ไม่ตื่น เหมือนกัน นอกจากนั้นแล้วการเล่นไฟล์วีดีโอ ถ้าเป็นความละเอียดสูง โดยเฉพาะพวก 1080p ผลที่ออกมาคือมีแต่เสียง ภาพแทบจะหยุดนิ่งและแสดงผลไม่ได้ พอเข้าระดับ 480p พอจะเล่นได้ แต่ก็ยังมีการกระตุกให้เห็น
    Screenshot_2014-03-10-16-15-47 
              เนื่องจาก Nokia X เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานได้สองซิม เราจึงสามารถกำหนดลักษณะการโทรหรือการใช้อินเตอร์เน็ตได้ เช่น ในการโทร ให้โทรออกที่ซิมหนึ่งหรือซิมสองได้ หรือจะถามทุกครั้งไปก็ได้ โดยการถามจะถามลงมาจาก Notification Bar ให้เลือก น่าเสียดายตรงที่ว่า หากสมมติว่าติดสายหนึ่งแล้ว อีกสายหนึ่งจะไม่สามารถโทรเข้าโทรออกได้ ไม่ใช่การรับสายพร้อมกันได้สองสาย
    Screenshot_2014-03-12-00-53-12 
              โดยภาพรวม Nokia X ตอบโจทย์การใช้งานระดับพื้นฐานอยู่ได้บ้าง อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่อาจจะคุ้นเคยกับโทรศัพท์ที่ลื่น หรือต้องการความยืดหยุ่นมากกว่านี้ ต้องยอมรับว่า Nokia X ค่อนข้างมีขีดจำกัดอยู่พอสมควรในการตอบโจทย์ ในแง่นี้ก็อาจจะขึ้นไปที่ระดับเครื่องแบบ Lumia เลย น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า ส่วนเรื่อง UI ลูกผสมที่หลายคนอาจจะเป็นกังวลบ้างว่าจะออกมาดีแค่ไหน ต้องตอบว่าใช้งานได้ไม่มีปัญหาอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีฐานใช้เป็นมาจาก Windows Phone แต่แรกแล้ว ยกเว้น Fastlane ที่ต้องใช้เวลาปรับตัวสักพัก แต่ก็ไม่นานนัก

    กล้อง

              เรื่องกล้องสำหรับ Nokia X ก็ถือว่าสมราคาครับ แถมเป็นกล้องแบบ Fixed focus ด้วย แต่ถ้าถามว่าค่อนข้างผิดหวังหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าผิดหวังอยู่บ้าง ด้วยระดับราคานี้มีโทรศัพท์อยู่หลายตัวที่มีคุณสมบัติแบบ Auto focus กันหมดแล้ว แต่ถ้าถือว่าเป็นเครื่องสำหรับเริ่มต้นให้เด็กๆ หรือผู้ใหญ่ใช้ ก็ถือว่าใช้ได้ระดับหนึ่งกับคุณภาพของรูปถ่าย ยกเว้นในที่ซึ่งแสงอาจจะไม่ค่อยพอ ก็มีอาการภาพมีสีซีดได้
    IMG_20140310_163957
    IMG_20140310_202907
    IMG_20140310_202918
    IMG_20140310_203440

    บทสรุป

    IMG_20140310_192135
              ถ้าถามว่าความพยายามของ Nokia กับการลองหยั่งเชิงในตลาดมือถือระดับกลางค่อนล่างด้วย Nokia X ประสบความสำเร็จหรือไม่? อาจจะตอบในตอนนี้ได้ยาก แต่ถ้าถามว่าเตรียมตัวมาดีหรือไม่ คำตอบคือเตรียมตัวมาค่อนข้างดีมาก ตัวเครื่องให้สัมผัสที่ดีมาก งานประกอบแน่นหนา ดูไม่เหมือนโทรศัพท์มือถือราคาถูกทั่วไปแม้แต่น้อย ตัวซอฟต์แวร์เองก็ใช้งานได้ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันได้ดี ถ้าไม่ไปใช้งานมันหนักๆ อย่างไรก็ตามตัวซอฟต์แวร์ยังต้องเร่งปรับปรุงและพัฒนาให้มากกว่านี้ แม้ว่าจะอาศัยความได้เปรียบจากการที่เป็นแพลตฟอร์มดัดแปลงจากแอนดรอยด์ในการ มีแอพรันจำนวนมาก แต่ถ้าระบบแกนหลักภายในยังทำงานได้ค่อนข้างช้า จะเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับ Nokia X เอง
              หากจะถามว่าความน่าซื้อของ Nokia X อยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับมือถือเจ้าอื่นในท้องตลาด? คำตอบก็คือวัสดุของเครื่องที่ดีกว่าอย่างแน่นอน และการบริการหลังการขายที่ดีกว่าแน่นอน แต่ถ้าถามว่าเป็นโทรศัพท์ที่เหมาะกับคนแบบไหน คำตอบคงไม่น่าจะหนีไปจากกลุ่มฟีเจอร์โฟนที่ต้องการมาสัมผัสกับโทรศัพท์กลุ่ม สมาร์ทโฟนบ้าง หรือไม่ก็เป็นกลุ่มคนที่กำลังแสวงหาโทรศัพท์มือถือที่ทำงานได้ทัดเทียมกับ โทรศัพท์อื่นๆ เอาไว้ใช้เป็นเครื่องสำรอง
              อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มอง Nokia X ไว้ เพราะคิดว่าจะสามารถใช้ร่วมกับบริการของกูเกิลได้ หรือไม่ก็พบว่าตัวเองอยู่ในโลกบริการของกูเกิลมากกว่า เห็นทีอาจจะต้องมองข้าม Nokia X ไป เพราะการตัดบริการทุกอย่างของกูเกิลออกไป ย่อมทำให้การเรียกใช้บริการอย่าง Play Store เป็นไปไม่ได้แน่นอน แม้ว่าจะทำการดัดแปลงซอฟต์แวร์ ภายในได้ แต่เท่าที่ลองแล้วก็พบว่าให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ไม่ดีเอามากๆ เพราะบริการของกูเกิลเหล่านี้ต้องใช้พื้นที่ในหน่วยความจำไปอีกพอสมควร ยกเว้นเสียแต่ว่าจะซื้อมาเพื่อลงรอมใหม่เท่านั้นอาจจะยังพอเป็นไปได้บ้าง
              เพื่อความชัดเจนอาจจะสรุปได้ว่า หากหาโทรศัพท์สำรอง/โทรศัพท์สำหรับเด็กๆ/โทรศัพท์สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มหัด ใช้สมาร์ทโฟน Nokia Xย่อมตอบโจทย์ แต่ถ้าแสวงหาโทรศัพท์มือถือที่ต้องการประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่าการ เป็นเครื่องสำรอง แนะนำว่าการรอ X+ หรือ XL ที่จะออกมาหลังจากนี้ อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ส่วนจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดสำหรับโนเกียนั้น เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์
    ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
    บทความโดย: 
    ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> www.hitech.sanook.com

    วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

    iPhone 6 ถูกสั่งผลิตแล้ว 90 ล้านเครื่อง เปิดตัวกลางปี 2014

     ถูกสั่งผลิตแล้ว 90 ล้านเครื่อง เปิดตัวกลางปี 2014

              น่าจะเป็นข่าวดีของผู้อ่านหลายๆท่านที่ต้องการเปลี่ยนมือถือเป็นเครื่องใหม่, สาวก iPhone และผู้ใช้มือถือทั่วไป เพราะรายงานจาก The Commercial Times เปิดเผยว่า Foxconn โรงงานผลิตอุปกรณ์ให้กับ Apple ได้รับคำสั่งการผลิตiPhone 6 แล้วจำนวน 90 ล้านเครื่อง พร้อมมีการคาดการณ์เรื่องการเปิดตัวในช่วงกลางปี 2014
              การเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ในช่วงกลางปีเคยเกิดมาแล้วในงาน WWDC ปี 2010 ซึ่งครั้งนั้นเป็นการเปิดตัว iPhone 4 และในปี 2014 อาจเป็นอีกครั้งที่ Apple ใช้งาน WWDC เดือนมิถุนายนนี้เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่หรือ iPhone 6 เพราะจากรายงานของ The Commercial Times ระบุว่า Foxconn โรงงานผลิตอุปกรณ์ให้กับ Apple ได้รับคำสั่งการผลิต iPhone 6 แล้วถึง 90 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นไปได้ว่ากระบวนการผลิตจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนนี้
              หากกำหนดการเปิดตัวเป็นไปตามข่าวที่ออกมาก็แปลว่า Apple ได้ตัดสินใจลดวงจรชีวิตของอุปกรณ์ลงจากเดิมที่อย่างน้อยมีอายุในตลาดเกือบ 1 ปี เหลือเพียงแค่ 7-8 เดือน และสอดคล้องกับข่าวลือที่ผ่านมาว่า Apple จะหันมาเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ปีละ 2 รุ่น
              ข่าวการเร่งเปิดตัว iPhone 6 นับว่าสอดคล้องกับข้อมูลตามเว็บไซต์ในต่างประเทศก่อนหน้านี้ (อ่านได้จากข่าวเก่าครับ) ที่ระบุว่า Apple ได้จ้างบุคคลากรและโรงงานในแทบเอเชียเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกับการพัฒนาอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่จะมีจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงเป็นการเร่งรัดให้การเปิดตัวเร็วขึ้นอีกด้วยนั่นเอง
              สำหรับ iPhone 6 นี้มีการวิเคราะห์ว่าอาจเป็นรุ่นต่อยอดของ iPhone 5c เน้นเจาะตลาดระดับกลางและล่าง ส่วน iPhone อีกหนึ่งรุ่นซึ่งเป็นรุ่นไฮเอนด์อาจใช้ชื่อว่า iPhone Air ต่อยอดจาก iPhone 5s และจะเปิดตัวในช่วงเดือนกันยายนเหมือนหลายปีที่ผ่านมา
              ส่วนสเปคที่แท้จริงของ iPhone 6 หรือแม้กระทั่ง iPhone Air ยังไม่มีรายละเอียดที่นิ่งและชัดเจน แต่ที่ดูจะมีน้ำหนักมากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องการขยายหน้าจอนั่นเองครับ
    ที่มา pocketnow
    สนับสนุนเนื้อหา: Arip
    ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> www.hitech.sanook.com

    Hitech Gallery